การทำกายภาพบำบัดนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆสำหรับเรา แรกๆเราอาจจะให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสอนวิธีการที่ถูกต้องว่าแบบไหนเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด เพราะผู้ป่วยบางคนมีอาการอัมพาตที่แตกต่างกันไป เช่นบางคนอาจจะเป็นอัมพาตแค่ครึ่งตัว แต่บางคนอาจจะเป็นอัมพาตทั้งตัวก็มี ในขณะที่ยังพักฟื้นอยู่โรงพยาบาลนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการบำบัดให้เราดูก่อนว่าทำลักษณะอย่างไรบ้าง มีวิธีไหนที่เราสามารถทำได้ หากสงสัยก็จะได้สอบถามและปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ได้ หลังจากที่ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านจะได้ปฏิบัติถูกตามขั้นตอน
การทำกายภาพบำบัดครึ่งซีกเริ่มจากท่านอน เราต้องจับตัวผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งตัวด้วยการจัดขาและแขนทั้งสองข้างยืดตรง และสลับงอเป็นบางครั้ง และสลับนอนหงายโดยใช้หมอนรองหัวไม่สูงมากจนเกินไปและใช้หมอนรองที่ลำตัวบริเวณเอวจะช่วยในการดัดกระดูกสันหลังได้ด้วย การที่เราจะสลับท่านอนของผู้ป่วยนั้นจะต้องเปลี่ยนทุกๆ 30 นาที ส่วนท่านอนตะแคงต้องจัดตัวผู้ป่วยนอนเอียงอย่างเต็มตัว จัดแขนและขาที่เป็นอัมพาตยืดตรง ศีรษะเอียงเล็กน้อย พยายามยกแขนขึ้นลงสลับกันไปอย่างช้าๆ หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นท่าการนอนคว่ำ ถ้าผู้ป่าวมีการหายใจที่เป็นปกติสามารถใช้ท่านอนคว่ำได้ โดยการจับตัวผู้ป่วยนอนคว่ำใช้หมอนรองที่เท้าผู้ป่วย ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วค่อยสลับไปมา
การทำกายภาพบำบัดส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเองว่าจะช่วยตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูกับร่างกายได้เร็วสังเกตว่า ส่วนที่เป็นอัมพาตมีการขยับได้บ้างหรือไม่ การปัสสาวะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีภายใน 1-2 อาทิตย์หรือไม่ การรับรู้ทางสายตาและสมองดีขึ้นภายใน 2 อาทิตย์ ถือว่าผู้ป่วยดีขึ้นมากในการทำกายภาพบำบัด ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีการฟื้นฟูของร่างการให้สังเกตเหมือนกันว่า มีการรับรู้สายตาและสมองบ้างหรือไม่ การปัสสาวะดีขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายใน 1- 2 เดือน ก็ถือว่าผู้ป่วยไม่มีการฟื้นฟูร่างกายตัวเอง เพราะฉะนั้นแล้วเราก็ควรต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและใส่ใจให้มากๆ